โพรง
เรื่องและภาพประกอบโดย วชิรา
www.rabbithood.net
พิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร HIP ฉบับเดือนพฤษภาคม 2552
แม่สายอคาเดมี่ (Film & Music School) (2)
ท่ามกลางบรรดาหกเจ็ดร้านขายซีดีดีวีดีที่เรียงรายอยู่ในตลาดค้าขายนั้น ผมคิดว่ามีเพียงสองร้านที่ถือได้ว่ากว้างขวางและหลากหลายกว่าร้านอื่น (ที่ตั้งหน้าตั้งตาขายแต่หนังซีรี่ส์และหนังฮอลลีวู้ดเท่านั้น)
กระเถิบเข้ามาใกล้วงการเพลงอีกสักนิด ถ้าคุณบังเอิญเกิดมาไม่เหมือนชาวบ้าน หมายความว่าจู่ๆ คุณก็เกิดมีรสนิยมในการฟังเพลงที่หลากหลายกว่าการถูกยัดเยียดด้วยเทคนิคทางการตลาดและพลังอำนาจของสื่อ (ซึ่งจำกัดจำเขี่ยเฉพาะบางประเภทของดนตรีที่ล้างสมองกันมาว่าไพเราะและดีเท่านั้น) คุณอาจเคยตกอยู่ในอารมณ์อยากดูอะไรต่อมิอะไรที่เกี่ยวข้องกับวงดนตรีที่คุณชื่นชอบบ้าง จะเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมก็ตามแต่
อยากดูงานมิวสิควิดีโอของ Radiohead, Bjork หรือ Nick Cave and the Bad Seeds เพราะศิลปินเหล่านี้พิถีพิถันในการทำงานกับผู้กำกับฝีมือดี หรืออยากดูการแสดงสดของ Rufus Wainwright, The Divine Comedy, The White Stripes, Iggy Pop หรือ Goldfrapp ที่ไม่สามารถหาซื้อได้ภายในประเทศ (เพราะไม่มีใครอยากทำออกมาขาย เพราะมันคงขายไม่ได้ เพราะไม่มีใครรู้จัก เพราะมันคงไม่คุ้มที่จะลงทุน) ทั้งที่เขาเหล่านั้นเป็นนักร้องนักดนตรีที่มีพรสวรรค์ล้นเหลือ หรือ สารคดีของวง New Order, Smashing Pumpkins ที่ต่างก็เป็นวงในระดับที่สร้างปรากฏการณ์ในอดีต
กระทั่งเกิดริอยากขยายพรมแดนความรู้ออกไปหาอุปรากรที่สร้างจากวรรณกรรมเรื่องโปรดอย่าง Alice in Wonderland ก็ยิ่งอับจนปัญญา
ก่อนที่จะเดินข้ามเขต ถ้าสังเกตสักหน่อย จะมีกระดาษสีเทาอ่อนบางๆ แผ่นเล็กๆ แจกให้นักท่องเที่ยวในกระดาษนั้นแจ้งว่า
ข้อควรรู้สำหรับนักท่องเที่ยว
ของต้องห้ามในการนำเข้า/ส่งออกนอกราชอานาจักรไทย (หมายเหตุ- เขาเขียนคำว่า ‘อานาจักร’ แบบนี้จริงๆ!)
1. ยาเสพติดให้โทษทุกชนิด เช่น ยาบ้า เฮโรอีน
2. สินค้า สิ่งของละเมิดลิขสิทธิ์ หรือ ปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าตรายี่ห้อ อาทิเช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา แว่นตา แผ่นCD, แผ่นVCD, แผ่นDVD และสิ่งเทียมอาวุธปืน
(เว้นแต่ของใช้ส่วนตัว ห้ามนำไป แจก-จ่าย ฝากจำหน่ายอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้า)
3. วัตถุลามก สิ่งพิมพ์ลามก สิ่งเทียมอวัยวะเพศ เช่น แผ่นหนังโป๊ (หนังX) แผ่นVCD เป็นต้น
สิทธิ์ที่ได้รับการยกเว้นภาษีอากร สุรา หรือ เครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์ทุกชนิดสามารถนำติดตัวเข้ามาได้คนละไม่เกิน 1 ลิตร บุหรี่ไม่เกิน 200 มวน หรือ ซิก้าร์ไม่เกิน 250 กรัม
การนำเข้ามาในราชอาณาจักรมีความผิด มาตรา 27 พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มีโทษปรับ 4 เท่าของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผมรีบสำรวจสิ่งของในถุงและไม่พบกระเป๋า รองเท้า นาฬิกา แว่นตายี่ห้อดัง หรือวัตถุ สิ่งพิมพ์ลามกอนาจารใดๆ ก็ไม่มี จึงรีบสรุปเข้าข้างตัวเองโดยไม่ปรึกษาใครว่าแผ่นดีวีดีที่มีชื่อของค่ายต้นสังกัดปะติดอยู่ทุกแผ่นในถุงนั้นน่าจะเป็นของถูกลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์จีน!
ผมไม่สามารถสืบค้นได้จริงๆ ว่าดีวีดีเหล่านี้ผลิตที่ไหนในจีน และผลิตขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์อะไรเป็นหลัก (คุณลุงที่ร้านกาแฟบอกระหว่างที่ผมแวะไปนั่งพักเหนื่อยว่าแผ่นเหล่านี้ผลิตที่กวางโจว แล้วค่อยส่งไปขายตามที่ต่างๆ ) แต่สงสัยเป็นอย่างยิ่งว่าใครเป็นคนเลือกว่าจะผลิตเรื่องอะไรบ้าง
อยากเชิญมารับรางวัลจริงๆ
เป็นไปได้หรือไม่ว่าผู้ผลิตยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น เขาจึงยังไม่รู้ว่าแผ่นๆ ต่างๆ บางส่วนที่เขากำลังผลิตอยู่นั้นไม่ได้เป็นความต้องการหลักของตลาดทุนนิยมในปัจจุบัน จึงอาจเริ่มต้นด้วยการหว่านผลิตไปก่อน
ถ้าสมมติฐานนี้เป็นจริง ในอนาคตอันใกล้ เราก็คงไม่มีโอกาสได้เห็นแผ่นต่างๆ เหล่านี้อวดโฉมอยู่บนแผง เคียงบ่าเคียงไหล่กับแผ่นแสดงสดของศิลปิน K-POP ดังที่เป็นอยู่ในเวลานี้ (ผมเริ่มสังเกตว่าแผ่นแปลกๆ มีให้เลือกน้อยลงเรื่อยๆ)
และถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริง ก็คงเป็นเรื่องน่าสลดหดหู่ไม่น้อย
ผมคิดว่าเรื่องลิขสิทธิ์นั้นไม่มีอะไรซับซ้อนไปกว่าการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ที่คาดว่าตนเองนั้นจะเสียประโยชน์จากน้ำพักน้ำแรง ซึ่งเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทางการค้าล้วนๆ และนำมาซึ่งอำนาจในการควบคุมกลไกทางการตลาด
แต่ได้โปรดอย่าลืมว่าโลกนี้ไม่ได้มีผลประโยชน์แต่ทางการค้าเท่านั้น
นี่ต่างหากที่ซับซ้อน
ท่านที่มีโอกาสเดินทางออกนอกประเทศ และมีพฤติกรรมที่ต้องแวะร้านหนังสือหรือร้านซีดีอยู่เป็นประจำคงทราบดีว่าในร้านต่างๆ เหล่านั้น มีตัวเลือกให้เลือกมากเพียงพอสำหรับความต้องการ (หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียง) โดยเฉพาะแผ่นดีวีดีของนักร้องนักดนตรีต่างๆ สนนราคาแผ่นละหนึ่งถึงสองพันกว่าบาทไทย (ขึ้นกับชนิดและราคาของค่าเงิน) ซึ่งทำให้การตัดสินใจซื้อตั้งอยู่บนความไม่ประมาท โดยเฉพาะกับคนหาเช้ากินค่ำ หลายครั้งต้องทบทวน เดินวนเวียนถามตัวเองว่าเราต้องการมันจริงๆ หรือไม่ แล้วจึงตัดสินใจ
ผมคิดว่าสิ่งที่จำเป็นจะต้องพิจารณามากกว่า ราคา ก็คือ โอกาส ที่เราจะได้เสพมัน-ซึ่งเกือบทุกครั้ง ก็ได้รับคำตอบให้ตัวเองว่า ซื้อเถอะ! เพราะไม่รู้จะมีโอกาสได้ซื้ออีกเมื่อไหร่
แตกต่างเล็กน้อยกับแผ่นซีดีเพลง ที่ยังพอหาซื้อได้ที่ร้านโด เร มี (สยามสแควร์) เวลาลงไปเยี่ยมเยียนกรุงเทพมหานคร
จริงอยู่ เรายังมีการสั่งซื้อทางเน็ตให้เลือกใช้ แต่ผมเคยสั่งซื้อซีดีเพลงมาสามสี่แผ่น ในราคาแผ่นละสี่ห้าร้อยบาท จนเมื่อไปรับของ ผมต้องเสียค่าอะไรก็ไม่รู้ (จำไม่ได้แล้ว) ให้รัฐอีกสี่ร้อยกว่าบาท-เทียบเท่าราคาซีดีอีกแผ่นหนึ่ง
นี่เป็นค่าป่วยการสำหรับการเรียนรู้ใช่หรือไม่?
(ยิ่งไปกว่านั้น ในบรรดาตัวเลือกที่น้อยแสนน้อย เรายังต้องมานั่งหงุดหงิดกับ ‘มือดี’ ที่มีอำนาจตัดหั่นบางส่วนบางตอนของหนังที่จัดจำหน่ายอย่างถูกกฏหมายในประเทศ โดยไม่เคยคำนึงถึงคุณภาพทางศิลปะเท่าๆ กับคำนึงถึงคุณภาพทางศีลธรรมจอมปลอมที่ปลูกฝังกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน)
วลี “ถ้าไม่มีเงินซื้อของจริง ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ของปลอม” คงใช้ไม่ได้กับกรณีแผ่นดีวีดี เพราะเรากำลังพูดถึงโอกาสในการเรียนรู้ ไม่ใช่โอกาสในการยกระดับความฟุ้งเฟ้อ (แห่งชาติ)
เอาล่ะ ถ้ากลไกทางการตลาดมันไม่เอื้อให้เกิดความหลากหลาย (เพราะมันถูกควบคุมไปแล้ว) อย่างน้อยก็ขอโอกาสในการเรียนรู้ที่กว้างและจริงกว่าการนั่งท่องจำเพื่อทำข้อสอบในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยได้ไหม?
ห้องสมุดดีๆ ที่มีเนื้อหาและระบบจัดการที่ทันสมัยทั่วหัวระแหง ทั้งหนังสือ ซีดีและดีวีดี ชาวบ้านร้านตลาดจะได้มีโอกาสได้เรียนได้ศึกษา คอนเสิร์ตดีๆ หลากหลายแนวจากนักร้องนักดนตรีที่เป็นนักร้องนักดนตรีจริงๆ จากทั่วทุกมุมโลกในราคาบัตรที่ไม่สูงถึงสองพันหรือสามพันห้า ชาวบ้านตาดำๆ ที่มีรายรับหลักพันหรือหมื่นต้นๆ จะได้อาจเอื้อมไปสัมผัสบรรยากาศแบบมืออาชีพจริงๆ กับเขาบ้าง
ผมคิดว่าเรามีผู้ประกอบการที่พร้อมจะสร้างกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่อาจต้องการการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเรา
ซึ่งต้องยอมเข้าใจตรงกันเสียก่อนว่าโลกนี้ไม่ได้มีผลประโยชน์เพียงในทางการค้าเท่านั้น แต่ผลประโยชน์ในการเรียนรู้ของประชาชนในชาติก็จำเป็นเช่นเดียวกัน
โอกาส ก็สำคัญไม่แพ้ กำไร หรือถ้าจะว่ากันให้ถึงที่สุด การได้รับโอกาสนั้นก็ถือเป็นกำไรในตัวมันเองแล้ว
ใครๆ ก็รู้ว่ากระบวนการเรียนรู้นั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องมีความสม่ำเสมอเป็นที่ตั้ง
แต่ก็เถอะ ใครๆ ก็รู้อีกเหมือนกันว่านี่ไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วน เพราะเรื่องปากท้องของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศเป็นเรื่องด่วนที่สำคัญกว่า (ได้ยินมาจากในทีวี)
ระหว่างนี้ ผมจึงใคร่ขอนั่งดูดีวีดีที่ซื้อมาเพราะสนใจ ประวัติ ชีวิต และทัศนคติ อันลึกซึ้งของ Coco Chanel ผู้หญิงที่ผ่านประสบการณ์ในชีวิตมาอย่างหนักแน่นและโชกโชน จนกลายเป็นตำนานของวงการแฟชั่นทั่วโลกไปพลางๆ
เดี๋ยวดูจบแล้วค่อยไปเดินหาซื้อแว่นตากันแดดชาแนลปลอมๆ แถวตลาดมาใส่ประดับรสนิยมสักอัน
เรื่องและภาพประกอบโดย วชิรา
www.rabbithood.net
พิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร HIP ฉบับเดือนพฤษภาคม 2552
แม่สายอคาเดมี่ (Film & Music School) (2)
ท่ามกลางบรรดาหกเจ็ดร้านขายซีดีดีวีดีที่เรียงรายอยู่ในตลาดค้าขายนั้น ผมคิดว่ามีเพียงสองร้านที่ถือได้ว่ากว้างขวางและหลากหลายกว่าร้านอื่น (ที่ตั้งหน้าตั้งตาขายแต่หนังซีรี่ส์และหนังฮอลลีวู้ดเท่านั้น)
กระเถิบเข้ามาใกล้วงการเพลงอีกสักนิด ถ้าคุณบังเอิญเกิดมาไม่เหมือนชาวบ้าน หมายความว่าจู่ๆ คุณก็เกิดมีรสนิยมในการฟังเพลงที่หลากหลายกว่าการถูกยัดเยียดด้วยเทคนิคทางการตลาดและพลังอำนาจของสื่อ (ซึ่งจำกัดจำเขี่ยเฉพาะบางประเภทของดนตรีที่ล้างสมองกันมาว่าไพเราะและดีเท่านั้น) คุณอาจเคยตกอยู่ในอารมณ์อยากดูอะไรต่อมิอะไรที่เกี่ยวข้องกับวงดนตรีที่คุณชื่นชอบบ้าง จะเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมก็ตามแต่
อยากดูงานมิวสิควิดีโอของ Radiohead, Bjork หรือ Nick Cave and the Bad Seeds เพราะศิลปินเหล่านี้พิถีพิถันในการทำงานกับผู้กำกับฝีมือดี หรืออยากดูการแสดงสดของ Rufus Wainwright, The Divine Comedy, The White Stripes, Iggy Pop หรือ Goldfrapp ที่ไม่สามารถหาซื้อได้ภายในประเทศ (เพราะไม่มีใครอยากทำออกมาขาย เพราะมันคงขายไม่ได้ เพราะไม่มีใครรู้จัก เพราะมันคงไม่คุ้มที่จะลงทุน) ทั้งที่เขาเหล่านั้นเป็นนักร้องนักดนตรีที่มีพรสวรรค์ล้นเหลือ หรือ สารคดีของวง New Order, Smashing Pumpkins ที่ต่างก็เป็นวงในระดับที่สร้างปรากฏการณ์ในอดีต
กระทั่งเกิดริอยากขยายพรมแดนความรู้ออกไปหาอุปรากรที่สร้างจากวรรณกรรมเรื่องโปรดอย่าง Alice in Wonderland ก็ยิ่งอับจนปัญญา
ก่อนที่จะเดินข้ามเขต ถ้าสังเกตสักหน่อย จะมีกระดาษสีเทาอ่อนบางๆ แผ่นเล็กๆ แจกให้นักท่องเที่ยวในกระดาษนั้นแจ้งว่า
ข้อควรรู้สำหรับนักท่องเที่ยว
ของต้องห้ามในการนำเข้า/ส่งออกนอกราชอานาจักรไทย (หมายเหตุ- เขาเขียนคำว่า ‘อานาจักร’ แบบนี้จริงๆ!)
1. ยาเสพติดให้โทษทุกชนิด เช่น ยาบ้า เฮโรอีน
2. สินค้า สิ่งของละเมิดลิขสิทธิ์ หรือ ปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าตรายี่ห้อ อาทิเช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา แว่นตา แผ่นCD, แผ่นVCD, แผ่นDVD และสิ่งเทียมอาวุธปืน
(เว้นแต่ของใช้ส่วนตัว ห้ามนำไป แจก-จ่าย ฝากจำหน่ายอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้า)
3. วัตถุลามก สิ่งพิมพ์ลามก สิ่งเทียมอวัยวะเพศ เช่น แผ่นหนังโป๊ (หนังX) แผ่นVCD เป็นต้น
สิทธิ์ที่ได้รับการยกเว้นภาษีอากร สุรา หรือ เครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์ทุกชนิดสามารถนำติดตัวเข้ามาได้คนละไม่เกิน 1 ลิตร บุหรี่ไม่เกิน 200 มวน หรือ ซิก้าร์ไม่เกิน 250 กรัม
การนำเข้ามาในราชอาณาจักรมีความผิด มาตรา 27 พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มีโทษปรับ 4 เท่าของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผมรีบสำรวจสิ่งของในถุงและไม่พบกระเป๋า รองเท้า นาฬิกา แว่นตายี่ห้อดัง หรือวัตถุ สิ่งพิมพ์ลามกอนาจารใดๆ ก็ไม่มี จึงรีบสรุปเข้าข้างตัวเองโดยไม่ปรึกษาใครว่าแผ่นดีวีดีที่มีชื่อของค่ายต้นสังกัดปะติดอยู่ทุกแผ่นในถุงนั้นน่าจะเป็นของถูกลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์จีน!
ผมไม่สามารถสืบค้นได้จริงๆ ว่าดีวีดีเหล่านี้ผลิตที่ไหนในจีน และผลิตขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์อะไรเป็นหลัก (คุณลุงที่ร้านกาแฟบอกระหว่างที่ผมแวะไปนั่งพักเหนื่อยว่าแผ่นเหล่านี้ผลิตที่กวางโจว แล้วค่อยส่งไปขายตามที่ต่างๆ ) แต่สงสัยเป็นอย่างยิ่งว่าใครเป็นคนเลือกว่าจะผลิตเรื่องอะไรบ้าง
อยากเชิญมารับรางวัลจริงๆ
เป็นไปได้หรือไม่ว่าผู้ผลิตยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น เขาจึงยังไม่รู้ว่าแผ่นๆ ต่างๆ บางส่วนที่เขากำลังผลิตอยู่นั้นไม่ได้เป็นความต้องการหลักของตลาดทุนนิยมในปัจจุบัน จึงอาจเริ่มต้นด้วยการหว่านผลิตไปก่อน
ถ้าสมมติฐานนี้เป็นจริง ในอนาคตอันใกล้ เราก็คงไม่มีโอกาสได้เห็นแผ่นต่างๆ เหล่านี้อวดโฉมอยู่บนแผง เคียงบ่าเคียงไหล่กับแผ่นแสดงสดของศิลปิน K-POP ดังที่เป็นอยู่ในเวลานี้ (ผมเริ่มสังเกตว่าแผ่นแปลกๆ มีให้เลือกน้อยลงเรื่อยๆ)
และถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริง ก็คงเป็นเรื่องน่าสลดหดหู่ไม่น้อย
ผมคิดว่าเรื่องลิขสิทธิ์นั้นไม่มีอะไรซับซ้อนไปกว่าการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ที่คาดว่าตนเองนั้นจะเสียประโยชน์จากน้ำพักน้ำแรง ซึ่งเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทางการค้าล้วนๆ และนำมาซึ่งอำนาจในการควบคุมกลไกทางการตลาด
แต่ได้โปรดอย่าลืมว่าโลกนี้ไม่ได้มีผลประโยชน์แต่ทางการค้าเท่านั้น
นี่ต่างหากที่ซับซ้อน
ท่านที่มีโอกาสเดินทางออกนอกประเทศ และมีพฤติกรรมที่ต้องแวะร้านหนังสือหรือร้านซีดีอยู่เป็นประจำคงทราบดีว่าในร้านต่างๆ เหล่านั้น มีตัวเลือกให้เลือกมากเพียงพอสำหรับความต้องการ (หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียง) โดยเฉพาะแผ่นดีวีดีของนักร้องนักดนตรีต่างๆ สนนราคาแผ่นละหนึ่งถึงสองพันกว่าบาทไทย (ขึ้นกับชนิดและราคาของค่าเงิน) ซึ่งทำให้การตัดสินใจซื้อตั้งอยู่บนความไม่ประมาท โดยเฉพาะกับคนหาเช้ากินค่ำ หลายครั้งต้องทบทวน เดินวนเวียนถามตัวเองว่าเราต้องการมันจริงๆ หรือไม่ แล้วจึงตัดสินใจ
ผมคิดว่าสิ่งที่จำเป็นจะต้องพิจารณามากกว่า ราคา ก็คือ โอกาส ที่เราจะได้เสพมัน-ซึ่งเกือบทุกครั้ง ก็ได้รับคำตอบให้ตัวเองว่า ซื้อเถอะ! เพราะไม่รู้จะมีโอกาสได้ซื้ออีกเมื่อไหร่
แตกต่างเล็กน้อยกับแผ่นซีดีเพลง ที่ยังพอหาซื้อได้ที่ร้านโด เร มี (สยามสแควร์) เวลาลงไปเยี่ยมเยียนกรุงเทพมหานคร
จริงอยู่ เรายังมีการสั่งซื้อทางเน็ตให้เลือกใช้ แต่ผมเคยสั่งซื้อซีดีเพลงมาสามสี่แผ่น ในราคาแผ่นละสี่ห้าร้อยบาท จนเมื่อไปรับของ ผมต้องเสียค่าอะไรก็ไม่รู้ (จำไม่ได้แล้ว) ให้รัฐอีกสี่ร้อยกว่าบาท-เทียบเท่าราคาซีดีอีกแผ่นหนึ่ง
นี่เป็นค่าป่วยการสำหรับการเรียนรู้ใช่หรือไม่?
(ยิ่งไปกว่านั้น ในบรรดาตัวเลือกที่น้อยแสนน้อย เรายังต้องมานั่งหงุดหงิดกับ ‘มือดี’ ที่มีอำนาจตัดหั่นบางส่วนบางตอนของหนังที่จัดจำหน่ายอย่างถูกกฏหมายในประเทศ โดยไม่เคยคำนึงถึงคุณภาพทางศิลปะเท่าๆ กับคำนึงถึงคุณภาพทางศีลธรรมจอมปลอมที่ปลูกฝังกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน)
วลี “ถ้าไม่มีเงินซื้อของจริง ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ของปลอม” คงใช้ไม่ได้กับกรณีแผ่นดีวีดี เพราะเรากำลังพูดถึงโอกาสในการเรียนรู้ ไม่ใช่โอกาสในการยกระดับความฟุ้งเฟ้อ (แห่งชาติ)
เอาล่ะ ถ้ากลไกทางการตลาดมันไม่เอื้อให้เกิดความหลากหลาย (เพราะมันถูกควบคุมไปแล้ว) อย่างน้อยก็ขอโอกาสในการเรียนรู้ที่กว้างและจริงกว่าการนั่งท่องจำเพื่อทำข้อสอบในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยได้ไหม?
ห้องสมุดดีๆ ที่มีเนื้อหาและระบบจัดการที่ทันสมัยทั่วหัวระแหง ทั้งหนังสือ ซีดีและดีวีดี ชาวบ้านร้านตลาดจะได้มีโอกาสได้เรียนได้ศึกษา คอนเสิร์ตดีๆ หลากหลายแนวจากนักร้องนักดนตรีที่เป็นนักร้องนักดนตรีจริงๆ จากทั่วทุกมุมโลกในราคาบัตรที่ไม่สูงถึงสองพันหรือสามพันห้า ชาวบ้านตาดำๆ ที่มีรายรับหลักพันหรือหมื่นต้นๆ จะได้อาจเอื้อมไปสัมผัสบรรยากาศแบบมืออาชีพจริงๆ กับเขาบ้าง
ผมคิดว่าเรามีผู้ประกอบการที่พร้อมจะสร้างกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่อาจต้องการการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเรา
ซึ่งต้องยอมเข้าใจตรงกันเสียก่อนว่าโลกนี้ไม่ได้มีผลประโยชน์เพียงในทางการค้าเท่านั้น แต่ผลประโยชน์ในการเรียนรู้ของประชาชนในชาติก็จำเป็นเช่นเดียวกัน
โอกาส ก็สำคัญไม่แพ้ กำไร หรือถ้าจะว่ากันให้ถึงที่สุด การได้รับโอกาสนั้นก็ถือเป็นกำไรในตัวมันเองแล้ว
ใครๆ ก็รู้ว่ากระบวนการเรียนรู้นั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องมีความสม่ำเสมอเป็นที่ตั้ง
แต่ก็เถอะ ใครๆ ก็รู้อีกเหมือนกันว่านี่ไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วน เพราะเรื่องปากท้องของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศเป็นเรื่องด่วนที่สำคัญกว่า (ได้ยินมาจากในทีวี)
ระหว่างนี้ ผมจึงใคร่ขอนั่งดูดีวีดีที่ซื้อมาเพราะสนใจ ประวัติ ชีวิต และทัศนคติ อันลึกซึ้งของ Coco Chanel ผู้หญิงที่ผ่านประสบการณ์ในชีวิตมาอย่างหนักแน่นและโชกโชน จนกลายเป็นตำนานของวงการแฟชั่นทั่วโลกไปพลางๆ
เดี๋ยวดูจบแล้วค่อยไปเดินหาซื้อแว่นตากันแดดชาแนลปลอมๆ แถวตลาดมาใส่ประดับรสนิยมสักอัน
2 comments:
วันนั้น เห็นอยู่เหมือนกัน ดีวีดี เกี่ยวกับ coco chanel
แถวนี้แผ่นละ สามสิบ คิดถึงร้านดีวีดี แถวนี้ป่ะล่ะ
คิดสิ! ร้านนั้นเจ๋งจะตาย
ถ้าจะกลับมา ฝากติดไม้ติดมือกลับมาด้วยนะ
^^
Post a Comment