เอ้า...อ่านนี้ไปพลางนะ
พิมพ์ครั้งแรกที่ happening ฉบับสิงหานี่เอง
พี่วิภว์เขียนแนะนำไว้ว่า
หลังจากเขียนบทความกับ happening มาแล้วเมื่อตอนฉบับปฐมฤกษ์
วชิราก็กลับมาเขียนให้เราอีกครั้ง นอกจากจะเป็นนักเขียน-บรรณาธิการ
ที่หลายๆ คนรู้จัก (ช่วงหลังๆ ยังเป็นดีเจเสียด้วย) วชิรายังสนใจงานศิลปะอย่างจริงจัง
หนนี้เขาเขียนเล่าถึงศิลปินระดับประเทศท่านหนึ่ง
ที่เขามีโอกาสได้สัมผัสงานอย่างใกล้ชิด วชิราฝากบอกว่า
ใครสนใจมีประสบการณ์ใกล้เคียงกับเขา ก็สามารถไปชมงาน 100 ปีมีเซียม ยิบอินซอย
ได้ที่อะเบ้าท์คาเฟ่ ถนนไมตรีจิตต์ ใกล้วงเวียน 22 กรกฎา กรุงเทพมหานคร
ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2550 สอบถามรายละเอียดโทร 0-2623-1742
เป็นศิลปะ!
Happening arts
เรื่องและภาพ วชิรา
“เริ่มเลยสิคะ”
บ่ายวันนั้นอากาศร้อนอ้าว อะเบ้าท์คาเฟ่ดูโล่งตา
มีเพียงสามสี่ชีวิตเคลื่อนไหวไปมาในที่นั้น
ไม่น่าแปลกใจอะไรนัก ถ้าไม่นับวันเปิดงาน
ที่เชื้อเชิญให้ผู้คนในแวดวงมาพบปะสังสรรค์
พื้นที่ทางศิลปะที่ไหนๆ ก็เป็นเช่นนี้
เงียบจนเกือบร้าง คนน้อยถึงบางครั้งไม่มี
ผลงานบนผนังหรือบ้างที่วางตั้งอยู่บนพื้น ดูสงบและเปล่าเปลี่ยว
เป็นความโดดเดี่ยวแบบหมู่คณะ
พลันนึกสงสัยว่าจะเป็นอย่างไร ถ้าภาพที่เห็นตรงหน้า
คือผู้คนคราคร่ำ เสียงพูดคุยจ๊อกแจ๊ก สลับเสียงโทรศัพท์มือถือ
บ้างในบางครั้ง แต่เพียงวินาทีถัดมา เจ้าของกระบอกก็พร้อมจะรีบรุด
ออกไปกรอกธุระปะปังของตนเองด้านนอก
หนุ่มสาวเดินหนุงหนิงจับมือ ชี้ชวนกันชื่นชม
บ้างสีหน้าบึ้งตึงบูดเบี้ยว
บ่งบอกความไม่เข้าอกเข้าใจในสิ่งที่พบเห็นตรงหน้า
เด็กเล็กชี้ชวนตั้งคำถามให้ผู้ปกครองที่คอยเดินตามกำกับดูแล
บ้างส่งเสียงกระจองอแง หิวข้าว เบื่อ หรืออยากออกไปวิ่งเล่น
กลิ่นของความสดชื่นมีชีวิตชีวา ตลบอบอวลอยู่ในจินตนาการ
.........
ผมพูดได้เต็มปากว่าไม่ใช่ ‘คอ’ ศิลปะตัวยง
ทั้งไม่ได้เล่าเรียนศึกษาอย่างเป็นระบบระเบียบ
และทั้งไม่ได้ผลิตสร้างหรือให้กำเนิดผลงานศิลปะ
ให้เป็นที่โจทย์จันแก่ชาวโลกแต่อย่างใด
จำไม่ได้เสียแล้วว่าความสนใจใน ‘สิ่งที่เรียกกันว่า’ ศิลปะนั้น
เกิดขึ้นเมื่อไหร่และอย่างไร
รู้ตัวอีกทีก็สามารถจินตนาการหลายบรรทัดข้างต้น
ออกมาได้เป็นคุ้งเป็นแคว
ซึ่งถ้าคุณมีประสบการณ์การเที่ยวชมหอศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์
ในประเทศของเราอยู่บ้าง
ผมคิดว่านั่นก็เพียงพอที่จะเกิดอารมณ์ขันขื่น
กับบรรยากาศดังกล่าว-ที่ไม่มีอยู่จริง
เป็นภาพสะท้อนความทุลักทุเลแห่งประเทศชาติ
จากสายตาประชาชนตาดำ
เพื่อความสะดวกในการสื่อสารระหว่างเรา
ผมใคร่ขอเชิญชวนให้ซุกความคิดเรื่อง ‘อะไรคือศิลปะ’
และ‘อะไรไม่ใช่ศิลปะ’ ไว้ในการเป๋ากางเกงก่อน
เรื่องนี้เริ่มต้นที่บ้านหลังหนึ่ง, ละแวกถนนสาทร กรุงเทพมหานคร
เมื่อหลายปีก่อน ครั้งที่ผมเพิ่งริเข้าไปศึกษาเล่าเรียนในระดับอุดม
ซึ่งถ้าจำไม่ผิด, ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาหรรษาที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต
ค่าที่หลายสิ่งรอบตัวเป็นสิ่งใหม่ ท้าทาย
และชี้ชวนให้ลิ้มลองราวกับว่าเส้นทางของมันไม่มีที่สิ้นสุด
เป็นช่วงเวลาที่พลังและเวลาในชีวิตมีมากมายเหลือเฟือ
เราจึงเที่ยว เที่ยว เที่ยว และเรียนหนังสือบ้างในบางโอกาส
ธรรมดาของคนหนุ่ม
ที่มักหลงเข้าใจว่าตนเองคือนกขมิ้นอ่อนสีเหลืองสด
บ้านหลังนั้นจึงต้องคอยเปิดประตูต้อนรับพวกเราเสมอๆ ยามค่ำคืน
อันที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนัก
บ้านเพื่อนคนไหนๆ ก็เปิดประตูต้อนรับนกขมิ้นตัวปลอมได้ทั้งนั้น
เพียงแต่บ้านหลังนั้นมีบางอย่างแตกต่าง
ไม่นับความโอบอ้อมอารีย์ที่สมาชิกในบ้านมีต่อพวกเรา
ไม่นับต้นไม้ใหญ่น้อยที่คอยปกคลุมยามตื่นของเราให้ร่มครึ้ม
ไหนจะยังไม่รวมถึง ‘หมูก้อน’ อันแสนเอร็ดอร่อย
ที่นานๆ ครั้งจะวางรอเราอยู่บนโต๊ะอาหาร
หนังสือทั้งไทยและเทศมากหน้าหลายตาบนชั้นวาง
ที่จายตัวอยู่ทั่วไปแล้ว
บ้านหลังนั้นยังประกอบด้วยสิ่งของอีกสองอย่าง
คือภาพเขียนและรูปปั้น
ซึ่งเกิดขึ้นด้วยน้ำพักน้ำแรงและน้ำมือของเจ้าของบ้าน
และนั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จักชิ้นงาน
ของคุณย่าของเพื่อน-มีเซียม ยิบอินซอย
“เมื่อดิฉันเริ่มเขียนภาพ ดิฉันเขียนเพราะ
คิดอยากจะมีภาพประดับผนังบ้านตัวเอง”
ประโยคเริ่มต้นในอารัมภบทของหนังสือ
‘สวนศิลป มีเซียม ยิบอินซอย’ (Misiem’s Sculpture Garden)
-หนังสือที่รวบรวมภาพผลงานทั้งปั้นและวาดของเธอ
เริ่มเขียนภาพ-อาจฟังดูโรแมนติกชวนฝัน
หากมันร่วงจากปากหญิงสาวแรกรุ่นราวพิกุลแรกของต้น
แต่กับมีเซียมไม่ได้เป็นอย่างนั้น, เธอเริ่มวาดรูปครั้งแรกเมื่ออายุได้ 42 ปี
“ฉันหันมาสนใจศิลปะช้ามาก ฉันอายุสี่สิบสองแล้ว
เมื่อกลับจากยุโรปหลังจากพาลูกสาวไปรักษาโรคโปลิโอ
สิบสี่เดือนที่อยู่ในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ในเดนมาร์ก
ฉันได้ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ หอศิลปะ
และสถาบันซึ่งมีงานชิ้นเยี่ยมตั้งแสดงอยู่...
“เมื่อกลับมาถึงเมืองไทย
ฉันพบว่าภาพเขียนบนผนังห้องต่างๆ ในบ้านนั้นช่างจืดชืดไร้ชีวิต...
น่าแปลกใจว่าภาพเหล่านั้นไม่เคยก่อความรำคาญให้ฉันมาก่อนเลย
แต่บัดนี้ มันกลับรบกวนใจฉันทุกครั้งที่แลเห็น
ฉันเริ่มตระหนักว่า
นัยน์ตาฉันถูกฝึกให้รู้จักแยกแยะศิลปะชั้นเลิศออกจากศิลปะพื้นๆ เสียแล้ว”
จากข้อความในบท ‘ชีวิตศิลปินของฉัน’ มีเซียมเขียนเล่าว่า
เธอฝากตัวเป็นศิษย์อาจารย์มูเน ซาโตมิ ชาวญี่ปุ่น
เพื่อฝึกวาดรูปอย่างจริงจัง เธอวาด วาด วาด และวาด
จนกระทั่งได้รับรางวัล ‘จิตรกรเหรียญทองประจำชาติ’
อันหมายถึงการได้รับรางวัลเหรียญทอง
จากการประกวดในนิทรรศการแห่งชาติสามครั้งซ้อน
คือในปีพ.ศ.2492, 2493, 2494
จนเมื่อเสน่หาในงานวาดจืดจาง
มีเซียมหันความสนใจไปสู่งานปั้น
และฝากตัวเป็นศิษย์กับอาจารย์ศิลป พีระศรี
เธอปั้น ปั้น และปั้น จนวาระสุดท้ายของชีวิต
ถ้ารู้จักสังเกต ผมเชื่อว่าเราน่าจะเคยผ่านตาผลงานปั้นของเธอมาบ้าง
อย่างน้อยสักครั้ง ค่าที่มันประกอบอยู่กับสถานที่ต่างๆ มากมาย
บ้านหลังนั้นยังอยู่ แต่นกขมิ้นตกใจตื่นหมดแล้ว
ภาระหน้าที่ได้ช่วยบอกเตือนว่า
หมดเวลาของการค่ำไหนนอนนั่นเสียที
แต่ผลพลอยได้จากการเตร็ดเตร่ในช่วงเวลานั้น
ทำให้ผมค่อยๆ ซึมซับสิ่งละอันพันละน้อย ที่ประกอบขึ้นในบ้าน
มันดูสดชื่นและไม่เงียบเหงา
พอกล้อมแกล้มได้ว่ามันมี ‘ชีวิต’ เคลื่อนไหวอยู่ในนั้น
ผมอาจจะโชคดี ที่มีโอกาสได้คลุกคลี
และเป็นไปได้มากว่าผลงานต่างๆ ของคุณย่าของเพื่อน
ได้ช่วยกระชับนัยน์ตาของผมให้คมชัดขึ้น
และเป็นไปได้อีกมากว่าผลพวงจากช่วงเวลานั้น
ส่งต่อมาให้ความสนใจในโลกศิลปะแนบแน่นอยู่จนทุกวันนี้
ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับศิลปะนั้น
สืบเนื่องยาวนานและมีที่ท่าว่าจะดำรงอยู่ต่อไป
ตราบเท่าที่คนเรามีแรงผลักดันมากพอ
น่าแปลกที่เราต้องการทั้งการผลักและการดัน
เพื่อนำพาตัวเองไปสู่โลกที่ไม่คุ้นเคย,
ทั้งๆ ที่มันก็เป็นโลกเดียวกัน
ผมคิดเอาเองว่าคำถามสำคัญไม่ได้อยู่ที่ ‘อะไร’ ที่ทำให้เราห่าง
หรือทำ ‘อย่างไร’ ที่เราจะมีโอกาสได้ใกล้ชิด
หรือจะไป ‘ที่ไหน’ จึงจะได้พบกับโลกใหม่ใบนั้นที่ไม่คุ้นเคย
แต่คำถามสำคัญน่าจะอยู่ที่ ‘เมื่อไหร่’
เพราะเมื่อเริ่มต้น ทุกอย่างก็จะตามมา
เริ่มเขียนภาพ-จึงอาจไม่ใช่แค่วลีโรแมนติกเบาบางอีกต่อไป
ในข้อเขียนชิ้นเดิม
มีเซียมได้เล่าถึงความกระตือรือล้นขณะเดินทางไปพบคุณครูซาโตมิ
เพื่อขอเรียนวาดรูปกับท่าน
“คุณวาดรูปเป็นบ้างไหม? ” เขาถาม
ฉันกลัวว่าเขาจะไม่ยอมรับฉันเป็นศิษย์
จึงรีบตอบว่า “ดิฉันชอบออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องประดับให้ตัวเองค่ะ”
เขายอมจำนนต่อความจริงจังและความกระตือรือร้นของฉัน
ถามว่า “คุณจะเริ่มเมื่อไหร่? ”
พิมพ์ครั้งแรกที่ happening ฉบับสิงหานี่เอง
พี่วิภว์เขียนแนะนำไว้ว่า
หลังจากเขียนบทความกับ happening มาแล้วเมื่อตอนฉบับปฐมฤกษ์
วชิราก็กลับมาเขียนให้เราอีกครั้ง นอกจากจะเป็นนักเขียน-บรรณาธิการ
ที่หลายๆ คนรู้จัก (ช่วงหลังๆ ยังเป็นดีเจเสียด้วย) วชิรายังสนใจงานศิลปะอย่างจริงจัง
หนนี้เขาเขียนเล่าถึงศิลปินระดับประเทศท่านหนึ่ง
ที่เขามีโอกาสได้สัมผัสงานอย่างใกล้ชิด วชิราฝากบอกว่า
ใครสนใจมีประสบการณ์ใกล้เคียงกับเขา ก็สามารถไปชมงาน 100 ปีมีเซียม ยิบอินซอย
ได้ที่อะเบ้าท์คาเฟ่ ถนนไมตรีจิตต์ ใกล้วงเวียน 22 กรกฎา กรุงเทพมหานคร
ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2550 สอบถามรายละเอียดโทร 0-2623-1742
เป็นศิลปะ!
Happening arts
เรื่องและภาพ วชิรา
“เริ่มเลยสิคะ”
บ่ายวันนั้นอากาศร้อนอ้าว อะเบ้าท์คาเฟ่ดูโล่งตา
มีเพียงสามสี่ชีวิตเคลื่อนไหวไปมาในที่นั้น
ไม่น่าแปลกใจอะไรนัก ถ้าไม่นับวันเปิดงาน
ที่เชื้อเชิญให้ผู้คนในแวดวงมาพบปะสังสรรค์
พื้นที่ทางศิลปะที่ไหนๆ ก็เป็นเช่นนี้
เงียบจนเกือบร้าง คนน้อยถึงบางครั้งไม่มี
ผลงานบนผนังหรือบ้างที่วางตั้งอยู่บนพื้น ดูสงบและเปล่าเปลี่ยว
เป็นความโดดเดี่ยวแบบหมู่คณะ
พลันนึกสงสัยว่าจะเป็นอย่างไร ถ้าภาพที่เห็นตรงหน้า
คือผู้คนคราคร่ำ เสียงพูดคุยจ๊อกแจ๊ก สลับเสียงโทรศัพท์มือถือ
บ้างในบางครั้ง แต่เพียงวินาทีถัดมา เจ้าของกระบอกก็พร้อมจะรีบรุด
ออกไปกรอกธุระปะปังของตนเองด้านนอก
หนุ่มสาวเดินหนุงหนิงจับมือ ชี้ชวนกันชื่นชม
บ้างสีหน้าบึ้งตึงบูดเบี้ยว
บ่งบอกความไม่เข้าอกเข้าใจในสิ่งที่พบเห็นตรงหน้า
เด็กเล็กชี้ชวนตั้งคำถามให้ผู้ปกครองที่คอยเดินตามกำกับดูแล
บ้างส่งเสียงกระจองอแง หิวข้าว เบื่อ หรืออยากออกไปวิ่งเล่น
กลิ่นของความสดชื่นมีชีวิตชีวา ตลบอบอวลอยู่ในจินตนาการ
.........
ผมพูดได้เต็มปากว่าไม่ใช่ ‘คอ’ ศิลปะตัวยง
ทั้งไม่ได้เล่าเรียนศึกษาอย่างเป็นระบบระเบียบ
และทั้งไม่ได้ผลิตสร้างหรือให้กำเนิดผลงานศิลปะ
ให้เป็นที่โจทย์จันแก่ชาวโลกแต่อย่างใด
จำไม่ได้เสียแล้วว่าความสนใจใน ‘สิ่งที่เรียกกันว่า’ ศิลปะนั้น
เกิดขึ้นเมื่อไหร่และอย่างไร
รู้ตัวอีกทีก็สามารถจินตนาการหลายบรรทัดข้างต้น
ออกมาได้เป็นคุ้งเป็นแคว
ซึ่งถ้าคุณมีประสบการณ์การเที่ยวชมหอศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์
ในประเทศของเราอยู่บ้าง
ผมคิดว่านั่นก็เพียงพอที่จะเกิดอารมณ์ขันขื่น
กับบรรยากาศดังกล่าว-ที่ไม่มีอยู่จริง
เป็นภาพสะท้อนความทุลักทุเลแห่งประเทศชาติ
จากสายตาประชาชนตาดำ
เพื่อความสะดวกในการสื่อสารระหว่างเรา
ผมใคร่ขอเชิญชวนให้ซุกความคิดเรื่อง ‘อะไรคือศิลปะ’
และ‘อะไรไม่ใช่ศิลปะ’ ไว้ในการเป๋ากางเกงก่อน
เรื่องนี้เริ่มต้นที่บ้านหลังหนึ่ง, ละแวกถนนสาทร กรุงเทพมหานคร
เมื่อหลายปีก่อน ครั้งที่ผมเพิ่งริเข้าไปศึกษาเล่าเรียนในระดับอุดม
ซึ่งถ้าจำไม่ผิด, ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาหรรษาที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต
ค่าที่หลายสิ่งรอบตัวเป็นสิ่งใหม่ ท้าทาย
และชี้ชวนให้ลิ้มลองราวกับว่าเส้นทางของมันไม่มีที่สิ้นสุด
เป็นช่วงเวลาที่พลังและเวลาในชีวิตมีมากมายเหลือเฟือ
เราจึงเที่ยว เที่ยว เที่ยว และเรียนหนังสือบ้างในบางโอกาส
ธรรมดาของคนหนุ่ม
ที่มักหลงเข้าใจว่าตนเองคือนกขมิ้นอ่อนสีเหลืองสด
บ้านหลังนั้นจึงต้องคอยเปิดประตูต้อนรับพวกเราเสมอๆ ยามค่ำคืน
อันที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนัก
บ้านเพื่อนคนไหนๆ ก็เปิดประตูต้อนรับนกขมิ้นตัวปลอมได้ทั้งนั้น
เพียงแต่บ้านหลังนั้นมีบางอย่างแตกต่าง
ไม่นับความโอบอ้อมอารีย์ที่สมาชิกในบ้านมีต่อพวกเรา
ไม่นับต้นไม้ใหญ่น้อยที่คอยปกคลุมยามตื่นของเราให้ร่มครึ้ม
ไหนจะยังไม่รวมถึง ‘หมูก้อน’ อันแสนเอร็ดอร่อย
ที่นานๆ ครั้งจะวางรอเราอยู่บนโต๊ะอาหาร
หนังสือทั้งไทยและเทศมากหน้าหลายตาบนชั้นวาง
ที่จายตัวอยู่ทั่วไปแล้ว
บ้านหลังนั้นยังประกอบด้วยสิ่งของอีกสองอย่าง
คือภาพเขียนและรูปปั้น
ซึ่งเกิดขึ้นด้วยน้ำพักน้ำแรงและน้ำมือของเจ้าของบ้าน
และนั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จักชิ้นงาน
ของคุณย่าของเพื่อน-มีเซียม ยิบอินซอย
“เมื่อดิฉันเริ่มเขียนภาพ ดิฉันเขียนเพราะ
คิดอยากจะมีภาพประดับผนังบ้านตัวเอง”
ประโยคเริ่มต้นในอารัมภบทของหนังสือ
‘สวนศิลป มีเซียม ยิบอินซอย’ (Misiem’s Sculpture Garden)
-หนังสือที่รวบรวมภาพผลงานทั้งปั้นและวาดของเธอ
เริ่มเขียนภาพ-อาจฟังดูโรแมนติกชวนฝัน
หากมันร่วงจากปากหญิงสาวแรกรุ่นราวพิกุลแรกของต้น
แต่กับมีเซียมไม่ได้เป็นอย่างนั้น, เธอเริ่มวาดรูปครั้งแรกเมื่ออายุได้ 42 ปี
“ฉันหันมาสนใจศิลปะช้ามาก ฉันอายุสี่สิบสองแล้ว
เมื่อกลับจากยุโรปหลังจากพาลูกสาวไปรักษาโรคโปลิโอ
สิบสี่เดือนที่อยู่ในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ในเดนมาร์ก
ฉันได้ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ หอศิลปะ
และสถาบันซึ่งมีงานชิ้นเยี่ยมตั้งแสดงอยู่...
“เมื่อกลับมาถึงเมืองไทย
ฉันพบว่าภาพเขียนบนผนังห้องต่างๆ ในบ้านนั้นช่างจืดชืดไร้ชีวิต...
น่าแปลกใจว่าภาพเหล่านั้นไม่เคยก่อความรำคาญให้ฉันมาก่อนเลย
แต่บัดนี้ มันกลับรบกวนใจฉันทุกครั้งที่แลเห็น
ฉันเริ่มตระหนักว่า
นัยน์ตาฉันถูกฝึกให้รู้จักแยกแยะศิลปะชั้นเลิศออกจากศิลปะพื้นๆ เสียแล้ว”
จากข้อความในบท ‘ชีวิตศิลปินของฉัน’ มีเซียมเขียนเล่าว่า
เธอฝากตัวเป็นศิษย์อาจารย์มูเน ซาโตมิ ชาวญี่ปุ่น
เพื่อฝึกวาดรูปอย่างจริงจัง เธอวาด วาด วาด และวาด
จนกระทั่งได้รับรางวัล ‘จิตรกรเหรียญทองประจำชาติ’
อันหมายถึงการได้รับรางวัลเหรียญทอง
จากการประกวดในนิทรรศการแห่งชาติสามครั้งซ้อน
คือในปีพ.ศ.2492, 2493, 2494
จนเมื่อเสน่หาในงานวาดจืดจาง
มีเซียมหันความสนใจไปสู่งานปั้น
และฝากตัวเป็นศิษย์กับอาจารย์ศิลป พีระศรี
เธอปั้น ปั้น และปั้น จนวาระสุดท้ายของชีวิต
ถ้ารู้จักสังเกต ผมเชื่อว่าเราน่าจะเคยผ่านตาผลงานปั้นของเธอมาบ้าง
อย่างน้อยสักครั้ง ค่าที่มันประกอบอยู่กับสถานที่ต่างๆ มากมาย
บ้านหลังนั้นยังอยู่ แต่นกขมิ้นตกใจตื่นหมดแล้ว
ภาระหน้าที่ได้ช่วยบอกเตือนว่า
หมดเวลาของการค่ำไหนนอนนั่นเสียที
แต่ผลพลอยได้จากการเตร็ดเตร่ในช่วงเวลานั้น
ทำให้ผมค่อยๆ ซึมซับสิ่งละอันพันละน้อย ที่ประกอบขึ้นในบ้าน
มันดูสดชื่นและไม่เงียบเหงา
พอกล้อมแกล้มได้ว่ามันมี ‘ชีวิต’ เคลื่อนไหวอยู่ในนั้น
ผมอาจจะโชคดี ที่มีโอกาสได้คลุกคลี
และเป็นไปได้มากว่าผลงานต่างๆ ของคุณย่าของเพื่อน
ได้ช่วยกระชับนัยน์ตาของผมให้คมชัดขึ้น
และเป็นไปได้อีกมากว่าผลพวงจากช่วงเวลานั้น
ส่งต่อมาให้ความสนใจในโลกศิลปะแนบแน่นอยู่จนทุกวันนี้
ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับศิลปะนั้น
สืบเนื่องยาวนานและมีที่ท่าว่าจะดำรงอยู่ต่อไป
ตราบเท่าที่คนเรามีแรงผลักดันมากพอ
น่าแปลกที่เราต้องการทั้งการผลักและการดัน
เพื่อนำพาตัวเองไปสู่โลกที่ไม่คุ้นเคย,
ทั้งๆ ที่มันก็เป็นโลกเดียวกัน
ผมคิดเอาเองว่าคำถามสำคัญไม่ได้อยู่ที่ ‘อะไร’ ที่ทำให้เราห่าง
หรือทำ ‘อย่างไร’ ที่เราจะมีโอกาสได้ใกล้ชิด
หรือจะไป ‘ที่ไหน’ จึงจะได้พบกับโลกใหม่ใบนั้นที่ไม่คุ้นเคย
แต่คำถามสำคัญน่าจะอยู่ที่ ‘เมื่อไหร่’
เพราะเมื่อเริ่มต้น ทุกอย่างก็จะตามมา
เริ่มเขียนภาพ-จึงอาจไม่ใช่แค่วลีโรแมนติกเบาบางอีกต่อไป
ในข้อเขียนชิ้นเดิม
มีเซียมได้เล่าถึงความกระตือรือล้นขณะเดินทางไปพบคุณครูซาโตมิ
เพื่อขอเรียนวาดรูปกับท่าน
“คุณวาดรูปเป็นบ้างไหม? ” เขาถาม
ฉันกลัวว่าเขาจะไม่ยอมรับฉันเป็นศิษย์
จึงรีบตอบว่า “ดิฉันชอบออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องประดับให้ตัวเองค่ะ”
เขายอมจำนนต่อความจริงจังและความกระตือรือร้นของฉัน
ถามว่า “คุณจะเริ่มเมื่อไหร่? ”
“เริ่มเลยสิคะ พรุ่งนี้เช้า”