โพรง
เรื่องและภาพประกอบโดย วชิรา
www.rabbithood.net
จุดนัดพบ (2)
ความเดิมตอนที่แล้ว สุภาพบุรุษท่านหนึ่งเดินทางไกลมาจากกรุงเทพฯ พร้อมข้อสงสัยว่า ‘ทำไมใครๆ ก็มาเชียงใหม่’ อันนำมาซึ่งความห่วงไยว่าเชียงใหม่จะ ‘เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร’
จริตและคุณภาพชีวิตนั้นเป็นเรื่องของรสนิยมความ ‘พอใจ’ เรื่องรสนิยมนั้นตัดไปก่อน เพราะถกเถียงกันยาก ฉะนั้น ถ้าพอใจในสิ่งที่มีอยู่ก็ถือว่าโชคดี แต่ถ้าไม่ ก็ต้องดิ้นรนกันต่อ ดรรชนี้ชี้วัดด้วยกำปั้นทุบเปรี้ยงลงไปบนดินคือถ้าไม่ออกอาการทุรนทุรายก็ถือเป็นอันใช้ได้
ภาพกว้างๆ ของการอพยพโยกย้ายหรือกระทั่งการเดินทางท่องเที่ยวก็สมควรจะอยู่ในขอบข่ายนี้
ปัญหาก็คือว่า ‘ความพึงพอใจ’ ของคนกับเมืองที่เราอาศัยอยู่นั้น เกิดขึ้นแต่ลำพังภายในจิตใจของเราใช่หรือไม่
ผมคิดว่าไม่
ลองจินตนาการเล่นๆ ว่าถ้าเชียงใหม่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพิกัดนี้ แต่ไปซุกตัวอยู่ในหุบเขาไกลโพ้น เข้าถึงยาก ถนนหนทางไม่สะดวก โอบล้อมด้วยป่าดงดิบ สภาพภูมิอากาศแปรปรวน ฝนก็ฝนหนัก ร้อนก็ร้อนตับแตก ชื้น อบอ้าว ฤดูหนาวก็หนาวหิมะตก การอพยพโยกย้ายของคนเชียงใหม่ในจินตนาการนี้อาจเกิดขึ้นน้อยหรือแทบไม่มีเลย การมาท่องเที่ยวของคนต่างถิ่นนั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง คงเกิดขึ้นบ้างสำหรับผู้ที่อุทิศชีวิตให้ความแปลกใหม่และท้าทาย แต่คงไม่ได้รับความนิยมนัก เพราะลำบากเกินพยายามและไม่สวยงามตามฝันของชนชั้นกลางผู้มีกำลังซื้อ คำถามต่อไปคือว่า เมืองลี้ลับแห่งนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในบ้างหรือไม่
ผมเชื่อว่าเกิด แต่อาจจะน้อย และคงไม่เป็นประเด็นให้ใครสักคนดั้นด้นเดินทางมา 700 กิโลเมตร เพื่อพูดคุย
ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นโชคดีหรือโชคร้ายที่เชียงใหม่จริงๆ ในวันนี้ แตกต่างจากเชียงใหม่ในจินตนาการลิบลับ ทันทีที่คนจำนวนมากแห่กันมาพบปะสังสรรค์ เกิดบทสนทนาและความคิดเห็น ทั้งคล้อยตามและแตกต่าง ยิ่งการสังสรรค์นั้นยังทวีปริมาณไม่ลดละ เมื่อนั้นความเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้นไม่หยุดหย่อน
ถ้าการกำหนดนโยบาย ‘เมืองท่องเที่ยว’ เป็นตัวแปรหลักที่จุดประกายให้คนแห่แหนกันมาจริง อันส่งผลให้เกิดอาการ ‘ติดใจ’ จากการ ‘มาเที่ยว’ บ่อยๆ จนเกิดอาการโยกย้ายถิ่นฐาน ‘มาอาศัย’ คำถามต่อไปอีกคือว่า ได้มีการกำหนดนโยบายไว้รับมือปรากฏการณ์เช่นนี้หรือไม่ นอกเหนือจากแค่ลำพังการสะกดจิตผู้คนและนักท่องเที่ยวให้อนุรักษ์เปลือกปลอมๆ ของประเพณีและวัฒนธรรมไทยอันแสนดีงามของเรา
(ให้เวลานึกหนึ่งนาที)
ตลอดเวลาสองปีที่ผ่านมา จากการใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณ ‘ส่วนเมือง’ ของเชียงใหม่เป็นหลัก ผมสังเกตเห็นการเกิดขึ้นและดับไปของร้านเหล้า ร้านกาแฟ ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ และฟิตเนส มากมาย โดยเฉพาะในส่วนพื้นที่หลักที่ใช้รับรองนักท่องเที่ยวทั้งต่างชาติและชาวไทย ทั้งที่สถาน ‘ให้บริการ’ เหล่านั้นมีปริมาณสูงอยู่แล้วจนน่าตกใจ
แต่ผมกลับไม่เห็นการเจริญเติบโตของระบบขนส่งมวลชนเพื่อความสะดวกสบายโดยไม่ต้องใช้รถเก๋งหรือรถเครื่อง (แม้ว่าจะมีการพยายามเปิดให้บริการรถเมล์ก็ตาม) ไม่เห็นการพยายามกำหนดเส้นทางสำหรับรถถีบเพื่อที่คนส่วนมากจะขี่ไปไหนมาไหนง่ายๆ ไม่เห็นสวนสาธารณะที่กว้างใหญ่และร่มรื่น หรือห้องสมุดที่ทันสมัยสำหรับคนทั่วไป
จริงอยู่ สิ่งเหล่านี้อาจกำลังเคลื่อนตัว ขยับขยาย แต่มันไม่สามารถเทียบเคียงกันได้เลย ทั้งในปริมาณและอัตราเร่ง
สายตาผมอาจจะคับแคบ จำนวนสองปีอาจน้อยเกินไป
แน่นอนว่าละแวกนิมมานเหมินทร์ไม่ใช่ทั้งหมดของเชียงใหม่ บริเวณรอบคูเมืองหรือท่าแพก็ไม่ใช่ เหมือนที่กรุงเทพฯไม่ใช่ประเทศไทย แต่ในสถานการณ์ที่ทุกสิ่งถูกบังคับให้เคลื่อนออกจากศูนย์กลางแต่เพียงอย่างเดียวของบ้านเรา ก็ย่อมแสดงว่าการเปลี่ยนแปลงในส่วนเมืองจะส่งผลกระทบออกไปในวงกว้าง
นักท่องเที่ยวผู้โชคร้ายไม่รู้อิโหน่อิเหน่ จึงต้องรับเคราะห์ ถือเป็น ‘ตัวการ’ สำคัญที่ทำให้เมืองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ค่อยดีนัก (ต้องกลับไปครวญเพลง ‘ชวนฉันมา แล้วก็ด่าฉันไป’) ในขณะที่กระบวนการเพื่อการคำนวณผลประโยชน์ล้วนๆ กลับถูกแสดงออกมาผ่านธุรกิจพื้นๆ ที่เชื่อกันว่าหาเงินได้ง่าย ระลอกแล้วระลอกเล่า
ซื้อตึก เช่าที่ ทำร้านเหล้า เปิดร้านกาแฟ ขยายสาขาร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ ใครเจริญรุ่งเรืองก็โชคดีไป ใครพ่ายก็ลองหาลู่ทางใหม่ อาจแค่ย้ายทำเล หรือลองเปลี่ยนชนิดของกิจการ
ทิ้งไว้เพียงซากความฝันแสนหวาน ในจุดนัดพบแสนสวย
ที่จริงการมีร้านเหล้า ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ หรือร้านอื่นๆ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะคงไม่มีใครอยากอาศัยอยู่ในเมืองที่มีแต่วัด ห้องสมุด หรือสวนสาธารณะ แต่ผมคิดว่าเมืองที่ดีควรมีทางเลือกในการเจริญเติบโต มีความหลากหลายของคุณภาพชีวิตที่รองรับความ ‘พอใจ’ ของคนส่วนใหญ่ มีพื้นที่ให้ชุมชนได้แสดงความคิดเห็นและพลังของพวกเขา (เช่น ป้ายผ้าต่อต้านตึกสูงในซอยวัดอุโมงค์ หรือละแวกชุมชนวัดเกตุ ฯลฯ)
เพราะไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ ความเปลี่ยนแปลงในเสื้อผ้าของ ‘ความเจริญ’ นั้น ก็จะมาถึงวันยังค่ำ ฉะนั้นถ้าเรามีช่องทางให้เลือก ก็มีแนวโน้มว่าจะกำหนดความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้
สองคำถามสุดท้าย
หนึ่ง เรามีทางให้เลือกหรือไม่?
สอง ถ้ามี เราจะเลือกเพื่อให้เกิดความหลากหลายมั้ย?
เรื่องและภาพประกอบโดย วชิรา
www.rabbithood.net
จุดนัดพบ (2)
ความเดิมตอนที่แล้ว สุภาพบุรุษท่านหนึ่งเดินทางไกลมาจากกรุงเทพฯ พร้อมข้อสงสัยว่า ‘ทำไมใครๆ ก็มาเชียงใหม่’ อันนำมาซึ่งความห่วงไยว่าเชียงใหม่จะ ‘เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร’
จริตและคุณภาพชีวิตนั้นเป็นเรื่องของรสนิยมความ ‘พอใจ’ เรื่องรสนิยมนั้นตัดไปก่อน เพราะถกเถียงกันยาก ฉะนั้น ถ้าพอใจในสิ่งที่มีอยู่ก็ถือว่าโชคดี แต่ถ้าไม่ ก็ต้องดิ้นรนกันต่อ ดรรชนี้ชี้วัดด้วยกำปั้นทุบเปรี้ยงลงไปบนดินคือถ้าไม่ออกอาการทุรนทุรายก็ถือเป็นอันใช้ได้
ภาพกว้างๆ ของการอพยพโยกย้ายหรือกระทั่งการเดินทางท่องเที่ยวก็สมควรจะอยู่ในขอบข่ายนี้
ปัญหาก็คือว่า ‘ความพึงพอใจ’ ของคนกับเมืองที่เราอาศัยอยู่นั้น เกิดขึ้นแต่ลำพังภายในจิตใจของเราใช่หรือไม่
ผมคิดว่าไม่
ลองจินตนาการเล่นๆ ว่าถ้าเชียงใหม่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพิกัดนี้ แต่ไปซุกตัวอยู่ในหุบเขาไกลโพ้น เข้าถึงยาก ถนนหนทางไม่สะดวก โอบล้อมด้วยป่าดงดิบ สภาพภูมิอากาศแปรปรวน ฝนก็ฝนหนัก ร้อนก็ร้อนตับแตก ชื้น อบอ้าว ฤดูหนาวก็หนาวหิมะตก การอพยพโยกย้ายของคนเชียงใหม่ในจินตนาการนี้อาจเกิดขึ้นน้อยหรือแทบไม่มีเลย การมาท่องเที่ยวของคนต่างถิ่นนั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง คงเกิดขึ้นบ้างสำหรับผู้ที่อุทิศชีวิตให้ความแปลกใหม่และท้าทาย แต่คงไม่ได้รับความนิยมนัก เพราะลำบากเกินพยายามและไม่สวยงามตามฝันของชนชั้นกลางผู้มีกำลังซื้อ คำถามต่อไปคือว่า เมืองลี้ลับแห่งนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในบ้างหรือไม่
ผมเชื่อว่าเกิด แต่อาจจะน้อย และคงไม่เป็นประเด็นให้ใครสักคนดั้นด้นเดินทางมา 700 กิโลเมตร เพื่อพูดคุย
ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นโชคดีหรือโชคร้ายที่เชียงใหม่จริงๆ ในวันนี้ แตกต่างจากเชียงใหม่ในจินตนาการลิบลับ ทันทีที่คนจำนวนมากแห่กันมาพบปะสังสรรค์ เกิดบทสนทนาและความคิดเห็น ทั้งคล้อยตามและแตกต่าง ยิ่งการสังสรรค์นั้นยังทวีปริมาณไม่ลดละ เมื่อนั้นความเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้นไม่หยุดหย่อน
ถ้าการกำหนดนโยบาย ‘เมืองท่องเที่ยว’ เป็นตัวแปรหลักที่จุดประกายให้คนแห่แหนกันมาจริง อันส่งผลให้เกิดอาการ ‘ติดใจ’ จากการ ‘มาเที่ยว’ บ่อยๆ จนเกิดอาการโยกย้ายถิ่นฐาน ‘มาอาศัย’ คำถามต่อไปอีกคือว่า ได้มีการกำหนดนโยบายไว้รับมือปรากฏการณ์เช่นนี้หรือไม่ นอกเหนือจากแค่ลำพังการสะกดจิตผู้คนและนักท่องเที่ยวให้อนุรักษ์เปลือกปลอมๆ ของประเพณีและวัฒนธรรมไทยอันแสนดีงามของเรา
(ให้เวลานึกหนึ่งนาที)
ตลอดเวลาสองปีที่ผ่านมา จากการใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณ ‘ส่วนเมือง’ ของเชียงใหม่เป็นหลัก ผมสังเกตเห็นการเกิดขึ้นและดับไปของร้านเหล้า ร้านกาแฟ ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ และฟิตเนส มากมาย โดยเฉพาะในส่วนพื้นที่หลักที่ใช้รับรองนักท่องเที่ยวทั้งต่างชาติและชาวไทย ทั้งที่สถาน ‘ให้บริการ’ เหล่านั้นมีปริมาณสูงอยู่แล้วจนน่าตกใจ
แต่ผมกลับไม่เห็นการเจริญเติบโตของระบบขนส่งมวลชนเพื่อความสะดวกสบายโดยไม่ต้องใช้รถเก๋งหรือรถเครื่อง (แม้ว่าจะมีการพยายามเปิดให้บริการรถเมล์ก็ตาม) ไม่เห็นการพยายามกำหนดเส้นทางสำหรับรถถีบเพื่อที่คนส่วนมากจะขี่ไปไหนมาไหนง่ายๆ ไม่เห็นสวนสาธารณะที่กว้างใหญ่และร่มรื่น หรือห้องสมุดที่ทันสมัยสำหรับคนทั่วไป
จริงอยู่ สิ่งเหล่านี้อาจกำลังเคลื่อนตัว ขยับขยาย แต่มันไม่สามารถเทียบเคียงกันได้เลย ทั้งในปริมาณและอัตราเร่ง
สายตาผมอาจจะคับแคบ จำนวนสองปีอาจน้อยเกินไป
แน่นอนว่าละแวกนิมมานเหมินทร์ไม่ใช่ทั้งหมดของเชียงใหม่ บริเวณรอบคูเมืองหรือท่าแพก็ไม่ใช่ เหมือนที่กรุงเทพฯไม่ใช่ประเทศไทย แต่ในสถานการณ์ที่ทุกสิ่งถูกบังคับให้เคลื่อนออกจากศูนย์กลางแต่เพียงอย่างเดียวของบ้านเรา ก็ย่อมแสดงว่าการเปลี่ยนแปลงในส่วนเมืองจะส่งผลกระทบออกไปในวงกว้าง
นักท่องเที่ยวผู้โชคร้ายไม่รู้อิโหน่อิเหน่ จึงต้องรับเคราะห์ ถือเป็น ‘ตัวการ’ สำคัญที่ทำให้เมืองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ค่อยดีนัก (ต้องกลับไปครวญเพลง ‘ชวนฉันมา แล้วก็ด่าฉันไป’) ในขณะที่กระบวนการเพื่อการคำนวณผลประโยชน์ล้วนๆ กลับถูกแสดงออกมาผ่านธุรกิจพื้นๆ ที่เชื่อกันว่าหาเงินได้ง่าย ระลอกแล้วระลอกเล่า
ซื้อตึก เช่าที่ ทำร้านเหล้า เปิดร้านกาแฟ ขยายสาขาร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ ใครเจริญรุ่งเรืองก็โชคดีไป ใครพ่ายก็ลองหาลู่ทางใหม่ อาจแค่ย้ายทำเล หรือลองเปลี่ยนชนิดของกิจการ
ทิ้งไว้เพียงซากความฝันแสนหวาน ในจุดนัดพบแสนสวย
ที่จริงการมีร้านเหล้า ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ หรือร้านอื่นๆ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะคงไม่มีใครอยากอาศัยอยู่ในเมืองที่มีแต่วัด ห้องสมุด หรือสวนสาธารณะ แต่ผมคิดว่าเมืองที่ดีควรมีทางเลือกในการเจริญเติบโต มีความหลากหลายของคุณภาพชีวิตที่รองรับความ ‘พอใจ’ ของคนส่วนใหญ่ มีพื้นที่ให้ชุมชนได้แสดงความคิดเห็นและพลังของพวกเขา (เช่น ป้ายผ้าต่อต้านตึกสูงในซอยวัดอุโมงค์ หรือละแวกชุมชนวัดเกตุ ฯลฯ)
เพราะไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ ความเปลี่ยนแปลงในเสื้อผ้าของ ‘ความเจริญ’ นั้น ก็จะมาถึงวันยังค่ำ ฉะนั้นถ้าเรามีช่องทางให้เลือก ก็มีแนวโน้มว่าจะกำหนดความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้
สองคำถามสุดท้าย
หนึ่ง เรามีทางให้เลือกหรือไม่?
สอง ถ้ามี เราจะเลือกเพื่อให้เกิดความหลากหลายมั้ย?
No comments:
Post a Comment